ReadyPlanet.com


เงินชพค.และบำเหน็จทดแทนหลานมีสิทได้รับมั้ยถ้าพ่อตายก่อนย่า


คุณย่าเสียคะแกเป็นครูคะมีเงินชพคได้หลังเสียมา900,000คุณย่ามีลูก5คนตายก่อนย่าไป2คนคือพ่อของดิชั้นและอาคนที่สามคุณย่าไม่ได้เขียนยกให้ใครในแบบชพค.ให้สิทคนที่รับเงินนี้คือ 1)คู่สมรส,บุตร,บุตรบุญธรรม,บุตรนอกสมรส 2)ผู้อยู่ในอุปการะและมีข้อสามจำไม่ได้แล้วถ้าบุคคลในข้อ1)ตายคนลำดับที่2)ถึงมีสิทซึ่งดิชั้นได้ถามเจ้าหน้าที่ชพคว่าดิชั้นและลูกของอาที่คนที่สาม(ต่อไปจะเรียกว่าพี่สาว)มีสิทรับแทนที่พ่อที่เสียไปได้หรือไม่คำตอบคือไม่ได้เพราะไม่ใช่มรดกเงินทั้งหมดอาทั้งสามคนจึงได้รับไป และแบ่งเงินให้ดิชั้นและพี่สาวคนละ13,000ซึ่งทั้งดิชั้นและพี่สาวเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก(ดิชั้นลูกสามคนโตแค่ป.1)ส่วนอาทั้งสามนั้นรวยมากและลูกมีหน้าที่การงานดียังไม่มีหลานด้วย
ขอถามว่า 1)ดิชั้นและพี่สาวมีสิทเรียกร้องทางกฏหมายให้ได้ส่วนแบ่งเท่าๆกับอาทั้งสามได้หรือไม่(เค้าได้กันคนละ300,000ถ้าแบ่ง5ก็จะได้คนละ180,000)
2)ยังมีเงินบำเน็จทดแทนอีกก้อนซึ่งก็ไม่ใช่มรดกเหมือนกันจะมีสิทได้รับมั้ย
3)ยังมีเงินในบัญชีคุณย่าอีกก้อนซึ่งอาได้เปลี่ยนชื่อบัญชีเป็นชื่อร่วมสองคนส่วนอาอีกคนไม่มีชื่อเพราะได้เบิกไปใช้เองเยอะแล้วทั้งหมดนี้ทำขณะที่คุณย่ายังไม่ตายแต่ท่านไม่สบายและเป็นอัลไซเมอร์ ดิชั้นและลูกอาที่เสียมีสิทในเงินก้อนนี้มั้ย(ซึ่งไม่รู็ว่าเบิกกันไปเท่าไรแล้ว)
คุณย่าเลี้ยงดิชั้นมาแทนพ่อแม่ที่ทิ้งไปเหมือนแม่คนนึงทุกคนรู้ดีและตอนที่คุณย่าไม่สบายดิชั้นและลูกอาที่เสียต่างก็ดูแลซึ่งถ้าเทียบกับอาอีกสองคนแล้วดูมากกว่าเสียอีกส่วนอาอีกคนอยู่บ้านเดียวกับย่าดูแลย่ามาตลอด(คนที่เบิกเงินไปใช้เองเยอะแล้ว) ไม่ทราบว่าจะมีทางมั้ยเพราะตอนนี้ลำบากมากและดูเหมือนพวกอาที่รวยๆเค้าจะตัดเราไปเลย อีกอย่าง เงินบำนาญของคุณย่าอาก็เบิกมาใช้ตลอดแล้วอ้างว่าเป็นคนดูแลย่าใช้เพื่อดูแลคุณย่า



ผู้ตั้งกระทู้ หมูอู๊ด (aspoyas-at-hotmil-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2016-02-14 17:20:09 IP : 49.237.209.124


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3573205)

   ตามที่เจ้าหน้ที่แจ้งว่า คุณไม่มีสิทธิได้รับนั้นถูกต้องแล้ว  เพราะเงิน ชพค.ไม่ใช่มรดก  ผู้จะมีสิทธิได้รับจะเป็นไป ตาม พรบ.บเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494 ม.48 ดังที่ยกมาข้างล่าง 

1. ในเมื่อ อามีสิทธิรับเงินตามกฎหมาย  เขาคงไม่ยอมสละสิทธิ์  ทะเลไม่เคยอิ่มน้ำฉันใด  คนโลภย่อมไม่พึอใจในทรัพย์สินใดๆทั้งสิ้น  แม้จะรวยล้นฟ้า   ก็คงหยุดความโลภคนไม่ได้ ครับ

2.  คุณไม่มีสิทธิรับ ครับ

3.  เงินในบัญชีของย่า  เป็นมรดก  ที่ตกทอดแกบุตร  ในเมื่พ่อตายก่อน คุณก็รับมรดกแทนที่ได้ ....ส่วนการดูแลอุปถัมภ์ย่านั้น  เป็นกุศลผลบุญของคุณเอง   ย่อมไม่สูญหายไปไหน     ครับ

 

 

 

มาตรา ๔๘ ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการอยู่ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตาย ถ้าความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง ให้จ่ายเงินเป็นบำเหน็จตกทอดเป็นจำนวนตามเกณฑ์คำนวณในมาตรา ๓๒ (๑) ให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิตามเกณฑ์ ดังนี้
(๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓) บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตายของเจ้าบำนาญ ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้ กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-02-16 11:07:08 IP : 101.51.164.24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๖๖