ReadyPlanet.com


บริษัทสินทรัพย์ซื้อหนี้เสียบัตรเครดิตจากธนาคาร สามารถฟ้องต่อจากธนาคารเดิมได้หรือไม่


 ขอเรียนถาม กรณีย์เป็นหนี้อยู่ธนาคาร ต่อมาทางธนาคารได้ฟ้องให้ชำระหนี้ ศาลตัดสินแล้ว ทางผมไม่สามารถเอาเงินไปผ่อนได้ตามเวลากำหนด  เพราะเงินประทังชีพต้องมีเหลือไว้ก่อน ต่อมาธนาคารทวงถามมาหลายปี จนสุดท้ายทางธนาคารขายหนี้เสียให้กับบริษัท ที่จดทะเบียนสินทรัพย์  จึงอยากทราบว่า ทางธนาคารสินทรัพย์ ที่ซื้อหนี้เสียต่อจากธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ผมโดยตรง สามารถ ฟ้องต่อศาล ให้ผมเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ได้ด้วยหรือครับ ทั้งที่การทำสัญญา หลักฐานผมทำกับธนาคารเดิม ไม่ได้ทำกับธนาคารสินทรัพย์  จึงอยากทราบข้อกฎหมายจากท่านทนายความครับ เกี่ยวกับคดีแพ่งนี้  สามารถยกลูกหนี้ให้กับใครที่ซื้อต่อไปได้ด้วยหรือครับ  ทั้งๆที่ไม่เคยทำสัญญากับ เจ้าหนี้รายใหม่ที่ซื้อหนี้ต่อจากธนาคาร(ใช้ทั้งต้นและดอก+ค่าธรรมเนียมต่างๆศาล เพิ่มมากกว่าเดิมเท่าตัว) ขอบคุณครับ 



ผู้ตั้งกระทู้ ปรีชา :: วันที่ลงประกาศ 2020-02-23 17:31:01 IP : 101.51.89.81


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4192649)

 การโอนสิทธิเรียกร้อง

  เรื่องแบบนี้มีกฎหมายรองรับ ให้สามารถทำได้  ตาม ปพพ. ม.303-ม.313 ที่คนทั่วไป เรียกว่า  การซื้อขายหนี้  ดังนั้นคุณไม่ต้องมากังวลในข้อกฎหมาย ในเรื่องนี้  คือเขาสามารถทำได้  ในทางปฏิบัติ คุณก็เพียงเจรจาประนีประนอมกับเจ้าหนี้รายใหม่  เพื่อขอผ่อนใช้หนี้  เจ้าหนี้รายใหม่ น่าจะซื้อหนี้มาราคาไม่สูงนัก  การเจรจาต่อรองน่าจะไม่ลำบากยากเย็นจนเกินควร...ถ้าไม่ใช้หนี้  คงมีการบังคับดี  โดยการยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้  แต่ถ้าไม่ทรัพย์สินให้ยึด  เจ้าหนี้ก็คงทำอะไรไม่ได้  แต่คุณจะเสียเครดิต....ส่วนเงินเดือนก็ยึดได้ ในส่วนที่เกิน สองหมื่นบาทเท่านั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2020-02-26 05:20:00 IP : 118.172.194.77


ความคิดเห็นที่ 2 (4362757)

 ถ้าเป็นกรณีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายแล้ว แต่ตกลงขอผ่อนชำระต่อกับธนาคารได้  ต่อมาธนาคารขายหนี้ให้กับบริษัท บริหารสินทรัพย์ฯ  และเราผ่อนต่อกับบริษัทฯ  และถ้าเราไม่สามารถชำระหนี้ได้ต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ  บริษัทฯ จะฟ้องเราให้ล้มละลายอีกครั้ง  หรือเราล้มละลายไปเลย เพราะเคยถูกธนาคารเดิมยื่นฟ้องล้มละลายไปแล้วเพียงแต่ไปตกลงชำระหนี้กันใหม่ที่ศาลไว้เท่านั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น พี่ใหญ่ วันที่ตอบ 2022-07-20 09:08:36 IP : 171.7.236.74



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๖๖