![]() |
|
![]() |
หน้าหลัก | เกี่ยวกับเรา | ปรึกษากฎหมายฟรี | ค่าทนายความ | คำถามที่พบบ่อย | ติดต่อเรา |
แบ่งมรดกให้ทายาท | |
สวัสดีค่ะ รบกวนท่านช่วยชี้แนะแนวทางปฏิบัติให้ดิฉันด้วยนะคะ เรื่องมีอยู่ว่า ตาและยายแต่งงานกันและจดทะเบียนสมรสกัน (ปัจจุบันท่า นทั้ง 2 เสียชีวิตแล้ว โดยตาเสียชีวิต ปี 2537 และยายเสียชีวิต ปี 2559) มีบุตรด้วยกัน 5คน ประกอบด้วย ป้าคนที่ 1 (ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ สามีที่จดทะเบียนเสียชีวิตแล้ว ไม่มีบุตรร่วมกัน) แต่มาอยู่บ้านตา โดยที่ดิฉันเป็นผู้เลี้ยงดูเขาอยู่ ลุงคนที่ 2 (เสียชีวิตแล้วสถานะโสด ไม่มีบุตรและภรรยา) ลุงคนที่ 3 ( ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ สถานะโสด ไม่มีบุตรและภรรยา แต่มีอากรทางระบบประสาท สติไม่สมประกอบ) อาศัยอยู่ในที่ดินของยาย ซึ่งป้านคนที่4 หลอกให้ยายไปโอนที่ดินแปลงนี้ให้ป้าคนที่ 4 โดยดิฉันเป็นผู้ดูแลส่งอาหารให้ ป้าคนที่ 4 (ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ สถานะสมรสและมีบุตร จำนวน 3 คน) เป็นผู้จัดการมรดกของตา แม่ของดิฉันเป็นบุตรคนที่ 5 (เสียชีวิต ปี 2538 สถานะสมรส มีบุตร 3 คน) ดิฉันเป็นลูกสาวคนโต และเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับป้า คนที่ 4 และเป็นผู้รับมรดกแทนที่แม่ ดิฉันมีปัญหาเรื่องการแบ่งมรดกให้กับทายาทของตา โดยมรดกเป็นที่ดินติดถนนเพชรเกษม แปลงโฉนดเป็น4 เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อที่ 1 งาน 44 ตรว. ซึ่งบริเวณด้านหน้าติดถนนเพชรเกษม ชื่อในโฉนดมี2 คน คนที่ 1 ตาของดิฉัน คนที่ 2 น้องชายแท้ๆของตา โดยโฉนดแปลงดังกล่าวมีสิ่งปลูกสร้าง ประกอบด้วย - บ้านตา อยู่ติดถนนเพชรเกษม ซึ่งป้าคนที่ 4 และลูกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่ไม่ได้อาศัยอยู่บ้านนี้ - บ้านของดิฉัน สร้างปี 2521 ก่อนที่ตาจะเสียชีวิต (ซึ่งปัจจุบันดิฉันอาศัยอยู่กับบิดา) - ยุ้งฉางข้าว - โรงเรื่อนซึ่งเป็นคอกหมูเก่า แต่ในปัจุุบันเป็นที่เก็บของ ของดิฉัน ซึ่งอยู่ซีกขวามือของแปลงโฉนด - โรงเรือนที่เก็บของ ของป้าคนที่ (ซึ่งในปัจุบันพัง เนื่องจากต้นไม้ล้มทับ) ซึ่งอยู่ซีกซ้ายมือของแปลงโฉนด ส่วนน้องชายตา (ที่มีชื่อในโฉนดแปลงนี้) ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ เลย แต่น้องชายตา ได้สั่งกับภรรยาและบุตรก่อนเสียชีวิต ว่าในส่วนที่เป็นของเขา ยกให้ดิฉันและน้องๆ ปัญหามีอยู่ว่า ป้าคนที่4 จะให้ดิฉันรื้อบ้าน เพื่อที่เขาทำโฉนดใหม่ ซึ่งเป็นบ้านตา และอยู่ติดถนนเพชรเกษม และให้ดิฉันไปเอาพิ้นที่ด้านหลังไม่มีทางเข้าทางออก เขาอ้างว่างเป็นส่วนของน้องชายตา เพราะเขาอยากได้ที่ติดถนนเพชรเกษมและมีทางเข้า ทางออก แต่ดิฉันบอกว่า ดิฉันไม่ยอมรื้อบ้านเพราะสร้างโดยที่ตายินยอม ป้าคนที่4 เขาเลยจะเอาบ้านตาออกโฉนด 1 แปลง และที่ดินด้านหลังออกโฉนดอีก 1 แปลง โดยที่จะให้บ้านดิฉันอยู่ตรงกลาง และจะตัดเป็นทางเข้าออกให้ 1. ในกรณีนี้ดิฉันควรทำอย่างไรได้บ้างค่ะ ที่ดิฉันและทายาทของตาที่เหลือจะได้รับความยุติธรรม 2. ส่วนของน้องชายตา ป้าคนที่ 4 จะฟ้องครอบครองปรปักษ์กับทายาทของน้องชายตาได้หรือไม่
ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ
| |
ผู้ตั้งกระทู้ ิbigblue :: วันที่ลงประกาศ 2023-05-09 22:05:53 IP : 125.26.66.158 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (4463334) | |
การจัดการมรดก มีประเด็นสำคัญของคดีนี้คือ คุณบอกว่า ป้าคนที่ 4 หลอกให้ยายโอนที่ดิน ให้เขา ถ้าเป็นเช่นนั้น ป้าย่อมเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้ ร่วมกับ น้องชายของคุณตา...คำว่าหลอกให้โอนฯ ในทางปฏิบัติไม่น่าจะทำได้ เพราะเจ้าพนักงานที่ดินน่าจะมีการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงต่างๆมากมาย ไม่น่าจะโอนไปได้ง่ายๆ... คงต้องให้ผู้รู้จริง หรือ ทนายความไปตรวจข้อเท็จจริง ณ สนง.ที่ดิน เพื่อดูประวัติว่า คุณ ยาย โอนที่ดินให้ ป้าคนที่ 4 อย่างไร เพื่อสอบฯประเด็นนี้ให้ชัดเจนก่อน....ถ้ามีโอนที่ดินให้ป้าคนที่ี 4 แล้ว ที่ดินแปลงนี้ ก็มีเจ้าของเพียง สองคน คือคุณป้าคนที่ 4 และน้องของคุณตาเท่านั้น ลูกๆของคุณตา คุณยาย อีก 4 คน ไม่สามารถรับมรดกของคุณตา่คุณยายได้อีก เพราะไม่ใช่มรดก เป็นทรัพย์สินของคุณป้าคนที่ 4 และน้องคุณตา สองคนเท่านั้น....ดังนั้นสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่คุณบอกมา ก็ไม่เป็นมรดก เป็นเรื่องที่คุณป้าคนที่ 4 และน้องชายคุณตา(หรือทายาท) จะบริหารจัดการของเขาเอง ถ้าการตรวจสอบ ณ สนง.ที่ดิน พบว่า คุณป้าโอนที่ดินไปโดยมิชอบ ต้องมีการเพิกถอนการโอน ซึ่งขั้นตอนนี้คงไม่ใช่จะจบลงง่ายๆ อาจต้องมีการฟ้องร้องต่อศาล...ถ้าเพิกถอนการโอนได้สำเร็จ ที่ดินแปลงนี้ (1 งาน 44 ตร.วา)ต้องแบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่ หนึ่ง เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาททั้ง 5 คน คนละเท่าๆกัน รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างด้วย ส่วนที่สอง เป็นของน้องชายคุณตา ก็จะตกทอดแก่ บุตรและภรรยาของเขา คำสั่งเสียของน้องชายคุณตาที่บอกที่แก่บุตรภรรยาว่า ให้ส่วนของท่าน(น้องชายคุณตา) มอบให้แก่คุณและน้องๆ คำสั่งนี้ ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เพราะไม่ใช่พินัยกรรม ถ้าภรรยาและบุตร เขาไม่ยอมทำตาม ก็บังคับเขาไม่ได้ เว้นแต่เขาจะมีจิตเมตตาไม่ติดใจขอแบ่งปัน แต่อาจจะยากกว่าขึ้นสวรรค์ก็ได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องที่คุณถามมีเงื่อนไขมากมาย การตอบอาจจะคลาดเคลื่อน เพราะข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนเพียงพอ ขอแนะนำให้คุณไปติดต่อขอความช่วยเหลือ ณ สนง.อัยการ ณ เขตภูมิลำเนาของคุณ ขอพบท่านอัยการคุ้มครองสิทธิ์ ท่านคงเรียกทายาทมาเจรจากัน น่าจะมีทางออกที่สันติ และเหมาะสม (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ด้วยความปรารถนาดี ครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2023-05-10 10:21:14 IP : 49.228.49.96 |
[1] |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ |
Visitors : 260455 |