ReadyPlanet.com


ศาลพิพากษาตัดสินให้เราจ่ายค่าส่วนต่างรถยนต์ เราไม่มีจ่ายเลย จะเป็นยังไงต่อไปค่ะ


 เมื่อปี 24/11/2555  ดิฉันได้ทำการเช่าซือรถยนต์มือสองจากอู่แห่งหนึ่งมา ซึ่งเป็นรถใช้ระหว่างซ่อมของอู่นั้น ด้วยที่ตัวดิฉันไม่ค่อยรู้เรื่องรถยนต์สักเท่าไหร่ จึงตกลงซื้อขายกันในราคา 270000 บาท และได้ทำการเข้าไฟแนนซ์ของกรุงศรีออโต้ โดยทางกรุงศรีฯได้ตีราคารถพร้อมดอกเบี้ยเป็นเงิน 362000 บาท ชำระงวดๆละ 6400 บาท โดยชำระงวดแรกคือ 5/1/2556  เมื่อทางไฟแนนซ์อนุมัติดิฉันจึงไปขอค่าส่วนต่างที่ไฟแนนซ์โอนให้เจ้าของรถ นอกเหนือจาก 270000 เพื่อเอาไว้บำรุงรักษารถในอนาคต แต่ทางเจ้าของรถบอกว่าเหลือแค่ 5000 บาท แล้วก็ยื่นเงิน 5000 บาทให้ดิฉันๆ ได้โทรไปหาไฟแนนซ์ เพื่อถามเรื่องเงินส่วนนี้เจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นค่าดำเนินการ สุดท้ายก็ไม่ได้เงินส่วนต่างนั้น หลังจากใช้รถคันดังกล่าว มีแต่การซ่อมแซม เนื่องจากรถติดแกสไว้ด้วย ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องแกส และที่ซ่อมหนักสุดคือยกเกียร์ใหม่ทั้งลูก จนดิฉันไม่ไหวกับการซ่อมรถคันนี้ และไม่ได้ชำระค่างวดเพราะวุ่นหาเงินซ่อมแต่รถ สุดท้ายก็คืนรถให้ไฟแนนซ์ หลังจากคืนรถไปแล้วประมาณ 2-3 เดือนน่าจะได้ ทางไฟแนนซ์โทรมาแจ้งว่าเค้าได้นำรถไปขายทอดตลาดแล้ว แต่มีค่าส่วนต่างอยู่ 70000 บาทที่เราต้องจ่ายให้เค้าภายในวันนั้นเลย ซึ่งดิฉันก็ไม่มีเงินให้เลย หมดตัวไปกับการซ่อมรถตลอด และเมื่อวันที่ 24/9/65 มีหมายบังคับคดีมาที่บ้าน 2 ปึกใหญ่ๆ เป็นชื่อเราและชื่อแม่เรา ซึ่งแม่เป็นคนค้ำให้ โดยหมายศาลได้นัดวันที่ 10/4/66 ที่ผ่านมา ดิฉันเลยไปตามนัดเพื่อไปไกล่เกลี่ย แต่เมื่อไปถึงศาลนั่งรออยู่หน้าบัลลัง เจ้าหน้าที่บอกให้นังรอทนายฝ่ายโจทย์ จนเวลาประมาณ 11.00 น.ทนายฝ่ายโจทย์เดินมาตะโกนหาว่ามีใครเป็นจำเลยของบ.เจเอ็มทีไหมครับ ดิฉันก็ยกมือ ทนายก็เรียกไปนั่งคุย โดยเค้าคุยว่าให้เรายอมให้ศาลตัดสินไปเลยนะ เดี๋ยวเค้าทำเรื่องยื่นเอกสารให้เอง โดยไม่ต้องเข้าไปหน้าบัลลัง ดิฉันก็นึกในใจอยู่ว่ามันได้ใช่ไหม แล้วก็พูดขึ้นมาว่าเราอาจจะไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้ หรือจ่ายก็จ่ายแค่ 2-3 หมื่นบาท ดิฉันก็นึกดีใจว่ามีโอกาสเป็นไปได้จริงใช่ไหม ซึ่งดิฉันก็ไม่เคยขึ้นศาลหรือไม่รู้เรื่องอะไรเกียวกับคดีพวกนี้เลย จึงเชื่อทนายฝ่ายโจทย์ และเดินทางกลับ โดยไม่รู้ว่าจะเป็นการทำให้เราผิดนัดศาล สุดท้ายศาลตัดสินว่าให้ดิฉันจ่ายเงินให้กับโจทย์เป็นเงิน 115000 บาทและค่าทนายอีก 3000 บาท รวมเป็น 118000 บาท ดิฉันคิดว่ามันเยอะมากสำหรับดิฉันซึ่งหาเช้ากินค่ำจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายให้เค้า  ดิฉันจึงโทรไปหาทนายโจทย์บอกว่าศาลตัดสินแล้วนะ ทนายก็แนะนำให้ดิฉันโทรหาบ.เจเอ็มทีฯ ดิฉันก็โทรไปหาบ.เจเอ็มที แจ้งเค้าว่าศาลตัดสินแล้ว จะขอผ่อนเป็นเดือนๆ ได้ไหม เจ้าหน้าที่ของบ.เจเอ็มทีฯ บอกว่าได้แต่ขอยอดแรกเป็นเงินก้อน 25000 บาท จากนั้นผ่อนไปเดือนละ 1000 บาท ภายในวันที่ 30/4/66 นี้ โดยดิฉันก็ไม่มีเงินก้อนนี้อยู่ดี และหากเค้าไม่ยอมให้เราผ่อนและเราไม่มีจ่ายให้เค้าๆก็จะ บังคับคดีต่อไปเพื่อยึดทรัพย์  ส่วนตัวดิฉันไม่มีทรัพย์สินอะไร มีเพียงแม่ดิฉันที่เป็นคนค้ำประกันมีบ้านอยู่ต่างจังหวัดและเป็นบ้านหลังเดียวที่เรามี แม่ดิฉันก็กลัวว่าจะเค้าจะมายึดบ้าน อยากทราบว่าเค้าจะยึดบ้านแม่ดิฉันได้ไหมค่ะ  ตอนนี้เครียดที่สุดเลย ถ้าเราไม่จ่ายเลยสุดท้ายบ้านแม่จะโดนยึดใช่ไหมค่ะ..มีคนบอกว่ายึดไม่ได้เพราะบ้านไม่ได้เป็นชื่อเรา โฉนดก็ไม่ใช่ของเรา แต่เราก็บอกว่าแม่เป็นคนค้ำนะ เค้าบอกว่าจะยึดบ้านแม่เรา เลยไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี ค่ะ ฝากผู้รู้ใช่ตอบคำถามนี้ให้หน่อยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เล็ก (lek252534-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-04-24 11:44:06 IP : 171.5.251.119


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4455881)

 ค่าส่วนต่าง/กระบวนการพิจารณาในศาล

   ตามข้อเท็จจริงที่บอก  การผิดนัดในการส่งงวด   และคืนรถแก่ไฟแนนซ์   ก็คงมีการนำรถไปขายทอดตลาด  สุดท้ายก็อ้างว่า ไม่พอใช้หนี้  ที่ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าส่วนต่าง ดังที่คุณประสบอยู่...เมื่อการเจรจาไม่ประสบผล   ไฟแนนซ์ก็คงฟ้องเรียกค่าส่วนต่าง...ในเคสที่ผู้เช่าซื้อ  นำรถไปคืนไฟแนนซ์  ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา  มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาหลายๆฏีกา  ที่วินิจฉัยว่า  ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระค่าส่วนต่าง....แต่ เมื่อถูกฟ้อง  สิ่งสำคัญต้องมีการยื่นคำให้การ  เพื่อแจ้งข้อเท็จจริงให้ศาลทราบว่า มีการคืนรถ และบอกเลิกสัญญาแล้ว ศาลจะนำข้อเท็จจริงนี้ ไปพิจารณา   เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยตัดสินคดี  ซึ่งอาจจะ...ไม่ต้องชำระค่าส่วนต่าง หรือชำระค่าส่วนต่างน้อยลง  แต่คุณไม่เข้าใจกระบวนการตรงจุดนี้  เมื่อทนายโจทก์บอกให้กลับบ้าน คุณก็กลับ  ซึ่งคุณก็ไม่มีความผิดอะไร  แต่ตามกฎหมาย ถือว่า คุณขาดนัด  ขาดนัดอย่างแรกคือ ขาดนัดการยื่นคำให้การ (ซึ่งจะยื่นคำให้การหรือไม่ยื่นฯก็ได้  ไม่มีความผิดอะไร  แต่ไม่สามารถนำพยานหลักฐานมานำสืบได้  เช่น  อาจจะอ้างว่า มีการคืนรถแล้วไม่ได้  ทำให้คุณเสียโอกาส ในการต่อสู้คดี  และขาดนัดอย่างที่สอง  คือขาดนัดการพิจารณา  คือคุณ ไปศาลตามนัดแต่ ทนายฯบอกให้กลับบ้าน คุณก็ไม่ทราบแนวทางปฏิบัติก็กลับบ้าน  ซึ่งก็ไม่มีความผิดอะไร  แต่ทำให้คุณไม่มีการแจ้งข้อเท็จจริงแก่ศาล  คือแม้ไม่ยื่นคำให้การ  ก็สามารถอ้างตนเป็นพยาน  และแจ้งศาลให้ทราบว่า มีการคืนรถแล้ว) เมื่อคุณขาดนัดทั้งสองรายการ  ก็เข้าทางของโจทก์  ก็คือเขาก็แจ้งให้ศาลพิจารณาไปโดยฝ่ายเดียว หรือพิจารณาลับหลังจำเลยได้ ซึ่งแน่นอน จำเลยมักแพ้คดีเสมอ  เพราะไม่มีการให้การต่อสู้ใดใด  ดังที่คุณประสบอยู่.. ก็มีข่าวอยู่เสมอ ที่จำเลยไม่เคยไปศาลเลย แต่ทำไม  มีหมายบังคับคดีมายึดทรัพย์  เพื่อไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้   ก็เพราะในทางแพ่ง  สามารถพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้

   แนวทางแก้ปัญหา  เมื่อศาลพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ให้คุณใช้หนี้ส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ย และค่าทนายความเป็นเงิน แสนเศษ  คุณมีทางออกได้หลายทาง เช่น  ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ภายใน 1 เดือน  แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายพอสมควร คุณคงลำบากหนัก  อีกทางหนึ่ง ใช้การเจรจากับไฟแนนซ์   ซึ่งเขาก็เสนอเงื่อนไขแก่คุณแล้ว  ซึ่งคุณก็บอกว่ารับภาระไม่ไหว  ก็ลองใช้การเจรจาอีกที....สำหรับแม่ผู้ค้ำประกัน  ก็ต้องร่วมรับผิดกับคุณ อย่าไปหลงเชื่อผิดๆ ที่ผู้แนะนำที่ไม่รู้จริง อ้างว่า โฉนดฯไม่ใช่ชื่อของคุณ   แม้ไม่ใช่ชื่อของคุณ เป็นชื่อของแม่  โจทก์  ก็สามารถยึดไปขายทอดตลาดได้ เพราะแม่เป็นผู้ค้ำประกัน  ก็ถือว่าเป็นลูกหนี้เช่นกัน....ทางสุดท้าย  ถ้าการเจรจาไม่ประสบผล   เมื่อมีการประกาศขายทอดตลาดบ้านของแม่  คุณก็ต้องใช้วิธีไปซื้อบ้านคืนจากการขายทอดตลาด   โดยขอสินเชื่อจากธนาคาร  เพื่อผ่อนใช้หนี้ ที่ซื้อบ้านจากการขายทอดตลาด ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ใช้ช่องทางนี้ ในการแก้ไขปัญหา...  ท้ายสุดๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย  บ้านถูกยึด ประกาศขายก็ให้ขายไป บางที อาจจะไม่มีคนซื้อก็ได้  ถ้าไม่อยู่ในทำเลที่ดีพอ หรือถ้ามีคนมาซื้อ ก็ไปหาที่อยู่ใหม่  น่าจะดีกว่า หาเงินแสนมาซื้อบ้าน   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2023-04-26 09:29:00 IP : 49.228.51.39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๖๖