โอนสิทธิเรียกร้อง
ที่คนทั่วไปเรียกกันว่า เป็นการซื้อขายหนี้ คือเจ้าหนี้ สามารถโอนสิทธิเรียหร้อง (ขายหนี้) ให้บุคคลอื่นได้(เจ้าหนี้คนใหม่) เพราะกฎหมายเปิดช่องให้สามารถทำได้ ตาม ปพพ. ม.303 ผู้รับซื้อหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้รายใหม่ ที่สามารถฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ตามเงื่อนไข ของสัญญาฯเดิม ที่หนี้ค่อนข้างสูง คงเป็นเพราะมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทั้งดอกเบี้ยปกติ และดอกเบี้ยผิดนัด และการซื้อขายหนี้ กลายเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง การใช้สิทธิเรียกหร้องของเจ้าหนี้คนใหม่ อาจจะเรียกร้องเต็มพิกัด ตามที่คุณเข้าใจว่า เป็นการบีบ ก็คงไม่ผิด....แนวทางแก้ไข ก็ต้องใช้การเจรจา กับเจ้าหนี้คนใหม่ เพื่อขอผ่อนชำระในจำนวนที่คุณพอจะดำรงชีพอยู่ได้ ในการเจรจาก็ต้องดูรายละเอียดเรื่องดอกเบี้ยด้วยว่า แต่ละงวด มีดอกเบี้ย งวดละเท่าไร ตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ย งวดละ 2,000 บาท ถ้าคุณไปผ่อนใช้หนี้ เพียงเดือนละ 2,000 บาท ตามกฎหมายให้หักใช้ดอกเบี้ยก่อน ดังนั้นถ้าคุณผ่อนในระดับนี้ต่อไป หนี้ก็ไม่มีวันลดลง เพราะไม่ได้ผ่อนเงินต้นเลย แม้แต่บาทเดียว....ถ้าการเจรจาไม่ประสบผล อาจจะมีการฟ้องร้อง และลูกหนี้ถูกบังคับคดี (ยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้) ถ้าไม่มีทรัพย์สินให้ยึด ก็ไม่มีความผิดอะไร เพียงต้องเสียเครดิตในเรื่องการทำธุรกรรมทางเงินเท่านั้น..... |