ปัจจุบัน สำนักงานทนายความออนไลน์ ที่มีการเสนอให้บริการทางอินเตอร์เน็ตกับประชาชนมีเป็นจำนวนมาก หากมีการค้นหาจากเครื่องมือค้นหาของ Google ด้วยคำว่า “ทนายความออนไลน์” จะพบหน้าเว็บไซต์ซึ่งมีจำนวนผลการค้นหาประมาณ ๑,๘๒๐,๐๐๐ รายการ (๐.๒๖ วินาที) มีทั้งทนายความออนไลน์ที่ได้รับการจัดอันดับโดยเครื่องมือค้นหาดังกล่าวให้อยู่ในลำดับต้นๆและทนายความออนไลน์ที่ซื้อโฆษณาของ AdWords (โฆษณาธุรกิจบน Google) เพื่ออยู่ในลำดับต้นๆของผลการค้นหาเช่นกัน
ทนายความออนไลน์เป็นช่องทางใหม่อีกทางหนึ่งที่บรรดาทนายความทั้งหลายจะขยายงานของตนให้กว้างขวางทั้งขอบเขตการให้บริการที่ไม่มีจำกัดในด้านสถานที่ตั้งและขอบเขตด้านเวลา เพราะการมีสำนักงานทนายความออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต ทนายความเจ้าของสำนักงานทนายความออนไลน์สามารถเปิดรับลูกค้าได้ทุกเขตอำนาจศาลทั่วราชอาณาจักรทุกวันวันละ ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้นการเปิดให้บริการทนายความออนไลน์จึงเป็นช่องทางการตลาดที่ทนายความทุกคนต่างก็เห็นโอกาสเช่นเดียวกัน
ทนายความออนไลน์ในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อทนายความสามารถเปิดเว็บไซต์ทนายความออนไลน์ของตนบนอินเตอร์เน็ตได้ซึ่งไม่สามารถค้นคว้าตรวจสอบได้ว่าทนายความออนไลน์แห่งใดเป็นผู้เริ่มให้บริการก่อน แต่ตามที่มีบันทึกของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งเป็นองค์การที่รับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บันทึกว่าทนายความออนไลน์รายแรกที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคือ สำนักงานทนายความออนไลน์ www.kittilaw.com ซึ่งจดทะเบียนและได้รับเครื่องหมายเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๖
ทนายความออนไลน์ที่ให้บริการปรึกษากฎหมายออนไลน์ประเภทใดๆก็ตามต้องจดทะเบียนพาณิชย์ หากมีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่น ๆ , มีระบบการชำระเงินออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชีการชาระเงินด้วยบัตรเครดิต , มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายซึ่งถือว่าเป็นการขายบริการ) การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของทนายความออนไลน์ ดังกล่าว ถือว่าทนายความออนไลน์แห่งนั้นเป็นผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. ๒๔๙๙ และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๓) เมื่อจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผ่านเกณฑ์การประเมินของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วจะได้เครื่องหมาย DBD Registered โดยผู้ประกอบการทนายความออนไลน์ที่ยื่นขอใช้เครื่องหมาย DBD Registered จะต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ทั้ง ๗ ข้อ กล่าวคือ
๑. ผู้ขอใช้เครื่องหมายจะต้องเป็นเจ้าของเว็บไซต์ และมีโดเมนเนมเป็นของตนเอง
๒. เว็บไซต์จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
๓. เว็บไซต์จะต้องแสดงข้อมูล รายละเอียดเจ้าของเว็บไซต์ ที่ตั้งสำนักงาน หมายเลขโทรศัพท์และ โทรศัพท์มือถือ พร้อมช่องทางร้องเรียนการซื้อขายและส่งมอบสินค้า/บริการทั้งในระบบออฟไลน์และ ออนไลน์ หรือเมนู “ติดต่อเรา”(contact us)
๔. สินค้าหรือบริการที่จะนำขึ้นขายบนช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
๕. สินค้าหรือบริการจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
๖. การนำเสนอสินค้าและบริการ จะต้องมีความชัดเจน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น ชนิดของสินค้า ราคาสินค้า วิธีการชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
๗. จะต้องมีนโยบายดูแล/บริการลูกค้าหลังการขายที่แสดงไว้หน้าเว็บไซต์อย่างชัดเจน
เครื่องหมาย DBD Registered คือ เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รับรองว่าผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล ได้จดทะเบียนกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและมีระบบการซื้อขายตามรูปแบบของ e-Commerce เพื่อยืนยันการมีตัวตนอยู่จริงของผู้ประกอบการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
ปัจจุบัน สำนักงานทนายความออนไลน์ ที่จดทะเบียนพาณิชย์และได้รับเครื่องหมายรับรอง DBD Registered จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีเพียงจำนวน ๘ แห่งเท่านั้นซึ่งเรียงตามลำดับการจดทะเบียนดังนี้ (๑) www.kittilaw.com วันที่ได้รับเครื่องหมาย ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๖ (๒) www.pamook.com วันที่ได้รับเครื่องหมาย ๒๔ กันยายน ๒๕๔๖ (๓) www.lawyercluster.co.th วันที่ได้รับเครื่องหมาย ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ (๔) www.thanniti.com วันที่ได้รับเครื่องหมาย ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ (๕) www.thailandlawonline.com วันที่ได้รับเครื่องหมาย ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ (๖) www.sukadee.com วันที่ได้รับเครื่องหมาย ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ (๗) www.tilalegal.com วันที่ได้รับเครื่องหมาย ๒๗ มกราคม ๒๕๕๕ และ (๘) www.lawdd.net วันที่ได้รับเครื่องหมาย ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๖ (www.trustmarkthai.com หมวดหมู่เว็บไซต์ > การเงิน กฎหมาย บัญชี > สำนักงานกฎหมาย)
นอกจากสำนักงานทนายความออนไลน์เพียง ๘ แห่งที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว สำนักงานทนายความออนไลน์อื่นๆที่เปิดให้บริการทนายความออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตไม่มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามที่กฎหมายกำหนดให้ทำแต่อย่างใดๆ แม้ความจริงสำนักงานทนายความออนไลน์เหล่านั้นจะเปิดให้บริการและมีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่น ๆ , มีระบบการชำระเงินออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชีการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต , มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายและถือเป็นการขายบริการตามกฎหมายก็ตาม
เราสำนักงานทนายความออนไลน์สู้คดีดอทคอม เปิดให้บริการทนายความออนไลน์โดยแท้ โดยจดทะเบียนให้บริการทนายความออนไลน์เป็นลำดับที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Internet , e-mail , Smart phone และ AdWords ซึ่งเป็นการใช้การตลาดสมัยใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์การให้บริการ สำนักงานทนายความออนไลน์สู้คดีดอทคอม ให้บริการหลายรูปแบบ เช่น จัดเตรียมคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก จัดเตรียมคำให้การจำเลย จัดเตรียมคำฟ้องคดีผู้บริโภค สู้คดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แก้หนี้คดีสินเชื่อเงินสดอีซี่บาย แก้หนี้คดีกู้ยืมเงินเซทเทเลม แก้หนี้สินเชื่อผ่อนสินค้าอีซี่บาย แก้หนี้สินเชื่อผ่อนสินค้าคอร์ทส เม็กก้า สโตร์ เป็นต้น โดยคิด ค่าทนายความ แบบเป็นธรรมสมเหตุสมผล หากท่านสนใจหรือต้องการใช้บริการทนายความออนไลน์ของเรา โปรด ติดต่อเรา