ReadyPlanet.com
dot dot
dot
บริการของเรา
dot
bulletจัดเตรียมคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
bulletจัดเตรียมคำให้การสู้คดี
bulletจัดเตรียมคำฟ้องคดี
bulletเรียกคืนเงินค่าเปลี่ยนสัญญาจะซื้อจะขายคอนโด
bulletสู้คดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสู้คดีสัญญาสินเชื่อเงินผ่อนสินค้า อีซี่บาย (เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซส)
bulletสู้คดีสัญญาสินเชื่อเงินสดอีซี่บาย (เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซส)
bulletสู้คดีกู้เงินสินเชื่อธนาคารประชาชน (ธนาคารออมสิน)
bulletสู้คดีคอร์ทส์ เม็กก้าสโตร์ ภูเก็ต (รีโซลูชั่น เวย์)
bulletสู้คดีเซทเทเลม
bulletสู้คดีแคปปิตอล โอเค
dot
ตัวอย่างผลงานของเรา
dot
bulletตัวอย่างชนะคดีเช่าซื้อรถยนต์
bulletตัวอย่างชนะคดีผู้บริโภคกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletเรื่องจริง บริษัทประกันชีวิตยอมจ่ายหนึ่งล้าน
bulletตัวอย่างชนะคดีผู้บริโภคสัญญาสินเชื่อเงินสดอีซี่บาย
bulletตัวอย่างชนะคดีผู้บริโภคสินเชื่อธนาคารออมสิน
bulletตัวอย่างชนะคดีผู้บริโภค (เช่าซื้อรถยนต์)
bulletตัวอย่างชนะคดี พ.ร.บ.จราจร (เมาแล้วขับ)
bulletตัวอย่างชนะคดี พ.ร.บ.ศุลกากร
bulletตัวอย่างชนะคดีชั้นศาลอุทธรณ์
bulletคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก (ดำเนินคดีด้วยตนเอง)
bulletตัวอย่างฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ยอมชดใช้ค่าเสียหาย)
dot
ตัวอย่างเอกสารทางกฎหมายฟรี
dot
bulletตัวอย่างจดหมายทวงหนี้ที่ไม่เป็นความจริง
bulletตัวอย่างคำฟ้อง
bulletตัวอย่างคำให้การจำเลย
bulletตัวอย่างคำร้องต่างๆ
bulletตัวอย่างเอกสารที่สำคัญอย่างอื่นๆ
bulletตัวอย่างอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา
dot
บทความทางกฎหมายอื่นๆ
dot
bulletสู้คดีที่ถูกบริษัทซื้อหนี้มาฟ้องทุกชนิด
bulletคำฟ้องสั่งสอนทนายความ (เรื่องจริง)
bulletทนายความออนไลน์
bulletทนายความกับการตลาดแบบตรง
bulletอาชีพทนายความ
bulletทนายความ:อำนาจหน้าที่และสิทธิในประมวลกฎหมาย
bulletทนายความ:อำนาจหน้าที่และสิทธิในพระราชบัญญัติอื่นๆ
bulletผู้ใหญ่บ้าน
bulletคดีซื้อขายที่เป็นคดีผู้บริโภค
dot
เพื่อนบ้านของเรา
dot
bulletสารบัญเว็บไทย
dot
Newsletter

dot


สำนักงานอัยการสูงสุด
กรมบังคับคดี
@sukadee.com


ผู้จัดการมรดก article

         เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมรดกตกทอดแก่ทายาททันที แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกองมรดกยังไม่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทโดยเด็ดขาดจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันเรียบร้อย

ประเภทของผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกมีสองประเภทคือ ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล

หนึ่ง ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม กฎหมายได้กำหนดวิธีการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมไว้ ๒ วิธี คือ
          ๑.โดยผู้ทำพินัยกรรม หมายความว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ระบุชื่อบุคคลให้เป็นผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรม เช่น เขียนพินัยกรรมตั้งนาย ก. เป้นผู้จัดการมรดก
          ๒.โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ตั้งผู้จัดการมรดก หมายความว่า ผู้ทำพินัยกรรมมิได้ระบุชื่อบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมแต่ระบุให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ตั้งผู้จัดการมรดก เช่น เขียนพินัยกรรมว่า ในการตั้งผู้จัดการมรดกนี้ ให้นาย ข.พิจารณาเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก
         พินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกนั้นต้องชัดแจ้ง โดยผู้จัดการมรดกอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ และผู้จัดการมรดกต้องสมัครใจทำหน้าที่ด้วย ศาลอาจแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลก็ได้

สอง ผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล ผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลมี ๒ ประเภทคือ ผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจทั่วไปและผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจเฉพาะ
           ๑.ผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจทั่วไป หมายความว่า ผู้จัดการมรดกที่สามารถจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ทั้งหมด
           ๒.ผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจเฉพาะ หมายความว่าผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจจัดการทรัยพ์มรดกอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ

บุคคลผู้มีอำนาจร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก

        คดีขอตั้งผู้จัดการมรดก มีประเด็นแห่งคดีว่า ผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นพนักงานอัยการหรือไม่? มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือไม่? และผู้จัดการมรดกมีคุณสมบัติต้องห้ามที่จะเป้นผู้จดการมรดกหรือไม่?

        ดังนั้นจะเห็นได้ว่า บุคคลผู้มีอำนาจร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกจึงได้แก่ หนึ่งทายาท สองผู้มีส่วนได้เสียและสามพนักงานอัยการ

       หนึ่ง ทายาท ทายาทที่จะมีสิทธิร้องขอศาลตั้งผู้จัดการมรดก หมายถึง ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมก็ได้ ทายาทโดยธรรมไม่ได้หมายถึงทายาททุกลำดับตามที่กฎหมายกำหนด เพราะถ้ามีทายาทลำดับต้นอยู่ ทายาทลำดับหลังย่อมไม่มีสิทธิรับมรดก

       สอง ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึงบุคคลนั้นจะเป็นผู้รับประโยชน์ถ้ามีผู้จัดการมรดกขึ้นมา หรือจะเสียประโยชน์ถ้าไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้มีส่วนได้เสียอาจเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
             ๑. ผู้สืบสิทธิของทายาท คือทายาทของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
             ๒. ผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาท คือบิดามารดาที่ยังมีอำนาจปกครอง ผู้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมก็เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม เหตุที่มีส่วนได้เสียเพราะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์
 
             ๓. ผู้ปกครองผู้เยาว์ คือกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองแล้วมีการตั้งผู้ปกครองขึ้น ผู้ปกครองต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ทำนองเดียวกับผู้แทนโดยชอบธรรมเช่นกัน
             ๔. ผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลจึงเป้นผู้มีส่วนได้เสียเหมือนกัน
             ๕. เจ้าหนี้กองมรดกที่ไม่มีทายาท กองมรดกที่ไม่มีทายาทจำเป้นต้องตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมา เจ้าหนี้จึงเป้นผู้มีส่วนได้เสีย
             ๖. ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
             ๗. สามีหรือภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป้นผู้ทำมาหาทรัพย์สินมาได้ร่วมกัน
             ๘. ผู้มีกรรมสิทธิ์รวม
             ๙. ผู้ประกอบกิจการค้าร่วมกับผู้ตาย กรณีนี้ทำนองเดียวกัผู้มีกรรมสิทธิ์รวม

       สาม พนักงานอัยการ พนักงานอัยการคือข้าราชการในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ (๑๐) การที่กฎหมายให้อำนาจพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้เป็นเรื่องช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน

เหตุตามกฎหมายที่จำเป็นจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอตั้งผู้จัดการมรดก

       หนึ่ง ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายหรือไปอยู่นอกอาณาเขตหรือเป็นผู้เยาว์
       สอง เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือเต็มใจที่จะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือในการแบ่งปันทรัพย์มรดก
       สาม เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ

คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก

        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติคุณสมบัติต้องห้ามเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้นคือ ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถและบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย ฉะนั้นบุคคลใดมีลักษณะดังกล่าวจะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ นอกจากนั้นเป็นผู้จัดการมรดกได้ทั้งสิ้น บุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกอาจจะไม่ได้เป็นทายาทเลยก็ได้ หรือไม่ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ได้ ศาลตั้งใครก็ได้ถ้ามีการร้องขอให้ตั้งบุคคลนั้นที่มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามดังกล่าวแล้ว ศาลตั้งบุคคลนั้นเป็นผู้จัดการมรดกได้เสมอ

 




บทความด้านขวามือ

การไปศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย article
สิทธิผู้บริโภคที่สำคัญที่ท่านต้องทราบ article
คดีมโนสาเร่ article



สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๖๖

สู้คดีดอทคอมทนายความ
ที่อยู่ :  เลขที่ 14 ซอยพึ่งมี 38 ถ. สุขุมวิท 93 แขวง : บางจาก เขต :  พระโขนง
จังหวัด กรุงเทพมหานคร      รหัสไปรษณีย์ :10260
อีเมล ทนายความ : sepher@hotmail.co.th

Line ID: @sukadee.com
 

Free PageRank Checker