เมื่อท่านไปศาลเพื่อไกล่เกลี่ยคดีด้วยตนเอง ศาลจะมีระเบียบให้โอกาสคู่ความได้ไกล่เกลี่ยกันก่อนเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากศาลจะจัดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนมีการสืบพยานเพื่อช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของตัวความ ช่วยให้จำเลยและโจทก์หาทางยุติคดีโดยทำข้อตกลงประนีประนอมที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ หรือตกลงถอนฟ้อง ซึ่งจะทำให้ทั้งสองฝ่ายยังคงรักษาความสัมพันธ์ต่อไปได้
ถึงแม้ว่าท่านประสงค์ที่จะให้มีการไกล่เกลี่ยในศาล ท่านยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายในเวลาที่ศาลกำหนด มิฉะนั้น อาจเสียสิทธิในการต่อสู้คดี
แนวปฏิบัติของศาลในวันนัดครั้งแรกส่วนใหญ่จะดำเนินการเหมือนกันดังนี้
คดีจัดการพิเศษ
๑. ศาลจะพิจารณาคดีจัดการพิเศษ ให้แล้วเสร็จในวันนัด จึงให้คู่ความเตรียมพยานหลักฐานมาให้พร้อม มิฉะนั้นอาจถือได้ว่าคู่ความไม่มีพยานมาสืบ
๒. ในคดีที่คู่ความประสงค์จะเจรจาตกลงกัน ศาลจะนัดให้คู่ความพบกับผู้ประนีประนอมของศาลก่อน เมื่อคดีมีแนวโน้มที่จะตกลงกันได้ศาลจึงจะใช้ดุลพินิจอนุญาตให้เลื่อนคดีไปเพื่อให้โอกาสเจรจาตกลงกัน มิฉะนั้นจะพิจารณาคดีไปโดยไม่เลื่อนคดี
๓. ในคดีที่คู่ความให้การต่อสู้และศาลไม่สามารถพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จในวันนัดได้เมื่อศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วศาลจะกำหนดนัดครั้งต่อไปในวันนัดคดีจัดการพิเศษตามที่ศาลได้ประกาศไว้เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรให้กำหนดนัดในวันนัดในระบบการนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่อง ตามข้อ ๔
คดีสามัญ
๔. ในคดีสามัญที่จำเลยให้การต่อสู้คดี เมื่อถึงวันนัดแรกศาลจะสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับจำนวนพยานคู่ความประสงค์จะนำสืบ โดย
-ในคดีอาญาศาลจะกำหนดวันนัดพิจารณาคดีต่อเนื่องทันที (นัดทั้งวันทำการติดต่อกันไป)
-ในคดีแพ่งศาลจะสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อน ถ้าคู่ความประสงค์จะเจรจาไกล่เกลี่ย ศาลจะสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อน โดยคู่ความจะต้องเจรจาให้เสร็จก่อนถึงวันนัดสืบพยาน
๕. เมื่อศาลกำหนดวันนัดพิจารณาคดีต่อเนื่องแล้ว คู่ความควรแจ้งให้ศาลทราบถึงแนวทางการดำเนินคดีในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้
- การเสนอให้คู่ความอีกฝ่ายรับข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การสืบพยานบุคคลที่มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีในคดีอาญา
- การส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่น
- การขอออกหมายเรียกพยานบุคคล
- การส่งตรวจพิสูจน์หลักฐาน
- การเดินเผชิญสืบ
- การขอออกคำสั่งเรียกพยานเอกสาร
- การใช้ล่าม
- การทำแผนที่พิพาท
ในกรณีดังกล่าวคู่ความจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ยื่นบัญชีพยานต่อศาลก่อนหรือภายในวันนัดพร้อม โดยระบุหมายเลขโทรศัพท์หรือสถานที่ต่อพยานให้ศาลทราบด้วย
- จัดทำคำแถลงหรือแถลงด้วยวาจาเกี่ยวกับการเสนอให้รับข้อเท็จจริง
- จัดทำคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกหรือคำสั่งเรียกตามที่ศาลกำหนด
ลูกค้าของเราทุกคนไปศาลเพียงครั้งเดียวคือ ไปยื่นคำให้การจำเลยเท่านั้น หากจะไปอีกครั้งก็เพื่อไปตรวจดูคำพิพากษาด้วยตนเองเท่านั้น โปรดดู ประสบการณ์จริงจากลูกค้าผู้ใช้บริการ