ท่านอาจสงสัยว่า ท่านจะสามารถไปดำเนินคดีที่ศาลด้วยตนเองได้อย่างไร การยื่นฟ้องคดี การยื่นคำให้การแก้คดี การยื่นคำคู่ความและการยื่นคำร้องต่างๆ ความจริงแล้วเรื่องที่ทนายความไม่เคยบอกลูกความหรือคู่ความเลยคือ ตัวความผู้ที่เป็นคู่ความสามารถยื่นฟ้อง ยื่นคำให้การแก้คดี ยื่นคำร้องหรือดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆในศาลได้เอง (เมื่อทราบวิธีพิจารณาคดี ที่เขียนไว้แล้วในกฎหมาย) ลูกความของเราทุกคนไปดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลด้วยตนเอง เพราะประหยัด สะดวก รวดเร็ว ทันเวลา เราเคยให้บริการลูกความที่โทรศัพท์มาให้เราแก้ปัญหาเรื่องการยื่นคำให้การในตอนเช้าและตอนบ่ายก็สามารถไปยื่นคำให้การแก้คดีต่อศาลได้ทัน (ศาลจังหวัดพระโขนง และศาลจังหวัดสวรรคโลก) เพราะเว็บไซต์ทนายความของเราเป็นอันดับ ๑ ในการสู้คดีทางออนไลน์ ลูกความของเราที่เราให้บริการ สู้คดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (รับรองผลคดี) สู้คดีสัญญาสินเชื่อเงินสดอีซี่บาย สู้คดีสัญญาสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน (ออมสิน) เรียกคืนเงินค่าเปลี่ยนสัญญาอาคารชุด (คอนโด) และร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกด้วยตนเอง เคยสงสัยเหมือนกันว่าจะทำได้อย่างไร แต่เมื่อลูกความมีประสบการณ์ทำด้วยตนเองแล้ว ต่างแปลกใจกันเป็นส่วนมากว่าการไปศาลเพื่อยื่นฟ้องคดีด้วยตนเองและการยื่นคำให้การแก้คดีด้วยตนเองนั้นง่ายกว่าที่เคยคิดเคยเข้าใจ เพราะเพียงแต่พาตนเองไปยื่นคำคู่ความที่ศาลเท่านั้น หากแต่จะไปอีกครั้งก็คือต้องการไปฟังคำพิพากษาโดยการตรวจดูคำพิพากษาด้วยตนเอง ส่วน เรื่องเอกสารทางกฎหมาย (คำคู่ความและเอกสารประกอบอื่นๆ) ทนายความของเราจัดทำให้อย่างเรียบร้อยครบถ้วนสมบูรณ์ ลูกความของเราเพียงแต่ลงชื่อในเอกสารเท่านั้น เคล็ดลับที่เราจะเปิดเผยคือ ท่านทำตามคำแนะนำของทนายความดังต่อไปนี้ ทั้งการไปยื่นคำฟ้อง คำให้การสู้คดีและการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
วิธียื่นคำฟ้องต่อศาลด้วยตนเอง เรียกคืนเงินค่าเปลี่ยนสัญญาอาคารชุด (คอนโด)
ก่อนยื่นเอกสาร
ก. ตรวจเอกสารให้เรียบร้อย (เอกสารฟ้อง ๔ ชุด)
ลงชื่อใน เอกสารหมาย ๑ – ๒ (เอกสารท้ายคำร้อง) และแนบสำเนาหนังสือรับรองในเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ นำไปถ่ายเอกสารจำนวน ๓ ชุด (เพื่อทำเป็นสำเนาให้เหมือนกับต้นฉบับ)
๑. โจทก์ ลงชื่อในช่องที่มีชื่อตนเองทุกช่อง (ที่เว้นว่างไว้) ในเอกสารทางกฎหมายดังนี้
๑.๑ คำขอท้ายคำฟ้องอาญา
๑.๒ บัญชีพยานโจทก์
๑.๓ คำร้องขอปิดหมาย
จัดเอกสารดังนี้
๑. ต้นฉบับอย่างละ ๑ ชุด (เพื่อส่งให้ศาล) ประกอบด้วย
๑.๑ คำฟ้อง
๑.๒ บัญชีพยานโจทก์
๑.๓ คำร้องขอปิดหมาย
๑.๔ หมายนัดไต่สวนมูลฟ้อง ๓ แผ่น
๒. สำเนาอย่างละ ๓ ชุด ลงชื่อที่สำเนาเอกสารด้วย(เพื่อส่งให้จำเลยทั้งสอง) ประกอบด้วย
๑.๑ คำฟ้อง
๑.๒ บัญชีพยานโจทก์
๑.๓ คำร้องขอปิดหมาย
๓. สำเนาเอกสารที่ต้องนำกลับจากศาล (เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน) สำคัญที่สุด
๑.๑ คำฟ้อง
๑.๒ บัญชีพยานโจทก์
๑.๓ คำร้องขอปิดหมาย
การไปยื่นเอกสารต่อศาล (ศาลจังหวัด....ศาลแขวง)
(หมายนัดไต่สวนมูลฟ้องไม่ต้องเขียนอะไรเลย)
๑. ลงวันที่ในเอกสาร ๑.๑ , ๑.๒ ,๑.๓ (วันที่ท่านสะดวก) และลงชื่อริมกระดาษ
๒.ไปส่งเอกสารที่ห้องรับฟ้องคดีอาญา หรือห้องรับฟ้องคดีแพ่ง
๓. ส่งมอบเอกสารทั้งสี่ชุดให้เจ้าหน้าที่
๔. วางเงินค่านำส่งหมาย (ถามเจ้าหน้าที่ว่าวางเงินค่านำส่งหมายที่ไหน?) เช่น ประมาณ ๓๖๐ (ต.บางกร่าง) , ๒๑๐ (ต.ตลาดขวัญ) รวม ๕๗๐ บาท
๕. ลงชื่อนัดวันไต่สวนคำร้อง
๖. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ขอให้ประทับตรารับเอกสารให้ด้วยและนำสำเนาเอกสารในข้อ ๓ และ กลับบ้านเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
วิธียื่นคำให้การแก้คดีต่อศาลด้วยตนเอง สู้คดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (รับรองผลคดี) สู้คดีสัญญาสินเชื่อเงินสดอีซี่บาย สู้คดีสัญญาสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน (ออมสิน)
ก่อนยื่นเอกสาร ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องตัวหนังสือทับกับเส้น (ในเอกสารคำให้การจำเลยที่ ๑ และ ที่ ๒ สาระสำคัญอยู่ที่เนื้อความของคำให้การ)
หนึ่ง. ตรวจเอกสารให้เรียบร้อย
๑. จำเลยที่ ๑ ลงชื่อในช่องที่มีชื่อตนเองทุกช่อง (ที่เว้นว่างไว้) ในเอกสารทางกฎหมายดังนี้
๑.๑ คำให้การจำเลยที่ ๑
๑.๒ บัญชีพยานจำเลยที่ ๑
๑.๓ คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมาย
๑.๔ ใบมอบฉันทะจำเลยที่ ๒ (ผู้รับมอบฉันทะ)
๒. จำเลยที่ ๒ ลงชื่อในช่องที่มีชื่อตนเองทุกช่อง (ที่เว้นว่างไว้)
๒.๑ คำให้การจำเลยที่ ๒
๒.๒ บัญชีพยานจำเลยที่ ๒
๒.๓ ใบมอบฉันทะจำเลยที่ ๒ (ติดอากร ๑๐ บาทแล้ว)
๒.๔ ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนาถูกต้อง
สอง. จัดเอกสารดังนี้
๑. ต้นฉบับอย่างละ ๑ ชุด (เพื่อส่งให้ศาล) ประกอบด้วย
๑.๑ คำให้การจำเลยที่ ๑ , ที่ ๒
๑.๒ บัญชีพยานจำเลยที่ ๑ , ที่ ๒
๑.๓ ใบมอบฉันทะจำเลยที่ ๒
๑.๔ คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมาย
๑.๕ สำเนาบัตรประชาชนของจำเลยที่ ๒ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
๒. สำเนาอย่างละ ๑ ชุด (เพื่อส่งให้โจทก์) ประกอบด้วย
๑.๑ คำให้การจำเลยที่ ๑ , ที่ ๒
๑.๒ บัญชีพยานจำเลยที่ ๑ , ที่ ๒
๑.๓ คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมาย
(เอกสารเพื่อส่งให้โจทก์นี้ตาม ๑.๑ -๑.๔ หน้าแรก ใต้ข้อความที่ว่า คำให้การจำเลย , บัญชีพยานจำเลย , คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมาย และใบมอบฉันทะจำเลยที่ ๒ ที่เขียนข้อความว่า รับรองสำเนาถูกต้อง ลงชื่อใต้คำว่า รับรองสำเนาถูกต้อง ในเอกสารชื่อของตน)
๓. สำเนาเอกสารที่ต้องนำกลับจากศาล (เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน) สำคัญที่สุด
๑.๑ คำให้การจำเลยที่ ๑ , ที่ ๒
๑.๒ บัญชีพยานจำเลยที่ ๑ , ที่ ๒
๑.๓ ใบมอบฉันทะจำเลยที่ ๒
๑.๔ คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมาย
สาม. การไปยื่นเอกสารคำคู่ความต่อศาล (ศาลจังหวัด....../ศาลแขวง......)
๑.ไปที่ห้องเก็บสำนวนคดีดำ หรือ ศูนย์หน้าบัลลังก์
๒. ส่งมอบเอกสารทั้งสามชุดให้เจ้าหน้าที่
๓. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ขอให้ประทับตรารับเอกสารให้ด้วยและนำสำเนาเอกสารในข้อ ๓ กลับบ้านเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
วิธียื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลด้วยตนเอง
หนึ่ง ก่อนยื่นเอกสาร
ตรวจเอกสารให้เรียบร้อย ลงชื่อใน เอกสารหมาย ๑ – ...... (เอกสารท้ายคำร้อง) และนำไปถ่ายเอกสารจำนวน ๒ ชุด (เพื่อทำเป็นสำเนาให้เหมือนกับต้นฉบับ)
๑. ผู้ร้อง ลงชื่อในช่องที่มีชื่อตนเองทุกช่อง (ที่เว้นว่างไว้) ในเอกสารทางกฎหมายดังนี้
๑.๑ คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
๑.๒ บัญชีพยาน
๑.๓ คำร้องขอประกาศหนังสือพิมพ์
ต้องลงชื่อในเอกสารต้นฉบับดังนี้ (เพื่อเก็บไว้ยื่นต่อศาลวันสืบพยาน)
(๑) บัญชีเครือญาติ
สอง จัดเอกสารดังนี้
๑. ต้นฉบับอย่างละ ๑ ชุด (เพื่อส่งให้ศาล) ประกอบด้วย
๒.๑ คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
๓.๒ บัญชีพยาน
๔.๓ คำร้องขอประกาศหนังสือพิมพ์
๒. สำเนาอย่างละ ๑ ชุด (เพื่อส่งเป็นสำเนาไว้ที่ศาล) ประกอบด้วย
๑.๑ คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
๑.๒ บัญชีพยาน
๑.๓ คำร้องขอประกาศหนังสือพิมพ์
๓. สำเนาเอกสารที่ต้องนำกลับจากศาล (เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน) สำคัญที่สุด
๑.๑ คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
๑.๒ บัญชีพยาน
สาม. การไปยื่นเอกสารต่อศาล (ศาลแพ่ง/ศาลแพ่งธนบุรี/ศาลจังหวัด)
๑. ลงวันที่ในเอกสารทุกฉบับ (วันที่ที่ท่านสะดวกจะไปยื่นคำร้องต่อศาล) และลงชื่อริมกระดาษ
๒.ไปยื่นคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องที่ห้อง รับฟ้องคดีแพ่ง
๓. ส่งมอบเอกสารทั้งสามชุดให้เจ้าหน้าที่
๔. ชำระเงินที่แผนกการเงิน ประมาณ ๑,๐๕๐ บาท (ค่าคำร้อง ๒๐๐ บาท , ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ ๕๐๐ บาท และค่านำส่งหมายนัดไต่สวนคำร้อง ๓๕๐ บาท)
๕. ลงชื่อนัดวันไต่สวนคำร้องไว้กับเจ้าหน้าที่รับฟ้อง
๖. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ขอให้ประทับตรารับเอกสารให้ด้วยและนำสำเนาเอกสารในข้อ ๓ และใบเสร็จรับเงิน กลับบ้านเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
(ขัดข้องสงสัยสิ่งใด โทรศัพท์สอบถามทนายความได้ตอดเวลาครับ)